การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในเอเชีย
- โดยพันโทหญิง พญ.สิรกานต์ เตชะวณิช
- Apr 10, 2017
- 1 min read
โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases; CVDs) โดยเฉพาะภาวะหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
(heart attack) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โดยได้มีการประเมิน ว่าในปี พ.ศ. 2551
มีประชากรเสียชีวิตจาก CVDs ประมาณ 17.3 ล้านคน

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ยังได้ ประเมินว่าภายในปี 2573 จะมีประชากรเสียชีวิตจาก CVDs มากกว่า 23 ล้านคนใน แต่ละปี WHO จึงจัดอันดับให้โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการ เสียชีวิตก่อนวัยอันควรท่ัวโลก

วิถีการดำเนินชีวิตมีบทบาทสำคัญในการรักษาและป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมเป็นก้าวแรกในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ถึงแม้วิถีการดำเนินชีวิตระหว่างชาวตะวันตกและชาวเอเชียจะแตกต่างกันแต่คำแนะนำ ของสถาบันสุขภาพต่างๆเก่ียวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความดันโลหิต ต่างเป็นใน ทิศทางเดียวกันอย่างไรก็ดีในแง่การรณรงค์ด้านสุขภาพชาวเอเชียควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการลดการบริโภคเกลือและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประกอบกับการเลิกบุหรี่ในขณะที่ชาวตะวันตกควรให้ความสำคัญกับการควบคุมน้ำหนักตัวและการลดการบริโภคไขมัน
Коментарі