ภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน
- อะตอม คร๊าบบบ
- Apr 14, 2017
- 1 min read
ในประเทศไทย ภาวะน้ำหนักตัวเกินกับโรคอ้วนเริ่มเป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยโรคกลุ่มที่ไม่ติดต่อ (NCD) และปัจจัยเสี่ยงมีบทบาทมากขึ้นในช่วงที่ประเทศมีการเปลี่ยนผ่านทางระบาดวิทยา (Epidemiological Transition) กล่าวคือ เปลี่ยนจากโรคติดเชื้อมาเป็นโรคไร้เชื้อเรื้อรัง (Chronic diseases) ซึ่งรวมถึงภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็งท่ีเกี่ยวกับฮอร์โมน ความผิดปรกติของระบบกล้ามเน้ือและกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal disease) และโรคถุงน้ำดี
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศ ในเอเชียที่มีจำนวนคนเป็นโรคอ้วนมากที่สุด และภายในปี 2558 ประเทศไทยจะมี “เครือข่ายพุงใหญ่” ถึง 21 ล้านคน นอกจากนี้ในการจัดอันดับโรคอ้วนภายในอาเซียน พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับท่ี 2 (32.2%) รองจากมาเลเซีย โดยมีจำนวนประชากรท่ีเป็นโรคอ้วนมากที่สุด [รูปท่ี 1] โรคอ้วนเพิ่มขึ้นในอัตราท่ีสูงข้ึน โดย เฉพาะในเด็ก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเด็กก่อนวัยเรียนและในวัยเรียนท่ีเป็นโรคอ้วนเพ่ิมข้ึน 36% และ 15% ตามลำดับ

ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นน้ี น่าจะเป็นผลจากการเปลี่ยนรูปแบบอาหารการกินและวิถีการดำเนินชีวิตในประเทศไทย การเป็นสังคมเมืองและประเทศอุตสาหกรรมมากข้ึน ทำให้ อาหารที่บริโภคกลายเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง (energy-dense) และผ่านการแปรรูปที่อุดมไปด้วยน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีน้ำมัน ไขมันและเนื้อสัตว์ ในขณะที่มีปริมาณผักและผลไม้น้อยลง นอกจากน้ี ยังมีกิจกรรมทางกายน้อยลง เนื่องจากมีการทำงานนั่งโต๊ะมากขึ้น ในขณะท่ีการเดินทางก็สะดวกสบายข้ึน พลังงานท่ีไม่สมดุลน้ี โดยเฉพาะเมื่อปริมาณแคลอรีที่บริโภคเข้าไปมากกว่าปริมาณแคลอรีที่ใช้ไปทำให้ไม่สามารถหนีโรคอ้วนพ้น
Comments